รายชื่อปลากัดป่า พันธุ์แท้ สกุล Betta ในประเทศไทย มีกี่ชนิด?.

ปลากัดป่าคืออะไร?

"ปลากัดป่า" คือชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มปลากัดพันธุ์พื้นเมืองของไทย ซึ่งหมายถึงปลากัดที่พบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย ดังนั้น คำว่า "ป่า" ที่ต่อท้ายชื่อปลากัดจึงเป็นคำที่บ่งบอกว่าเป็นปลากัด "พันธุ์ป่า" หรือ "พันธุ์แท้" ที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติจริงๆ

ทั้งลักษณะรูปร่าง ลวดลาย สีสัน และพฤติกรรมต่างๆ ล้วนเกิดจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ที่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติมายาวนาน เพื่อให้ปลากัดป่าแต่ละชนิดมีลักษณะที่เหมาะสมลงตัวที่สุด มีเท่าที่จำเป็น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พอดีและดีพอ สำหรับการดำรงชีวิต สืบพันธุ์ และเอาตัวรอดได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่อาศัย

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมปลากัดป่าในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน จึงมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน เป็นความหลากหลายของปลากัดป่าชนิดต่างๆ นั่นเอง

ปลากัดป่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก จัดอยู่ในสกุล Betta วงศ์ Osphronemidae ซึ่งปลากัดป่าในสกุลนี้มีการจำแนกชนิดแล้ว พบว่าปัจจุบัน (2020) ทั่วโลกมีปลากัดป่าทั้งหมด 75 ชนิด (ส่วนใหญ่พบในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้แหล่ะ)

ปลากัดป่าภาคใต้ พันธุ์แท้ จากธรรมชาติ

ดูเพิ่มเติม ↓
ปลากัดป่าใต้ พันธุ์แท้ ราคาถูก »

การจำแนกทางอนุกรมวิธานของปลากัดป่า

  • Kingdom: Animalia
  • Phylum: Chordata
  • Superclass: Osteichthyes
  • Class: Actinopterygii
  • Subclass: Neopterygii
  • Infraclass: Teleostei
  • Superorder: Acanthopterygii
  • Order: Anabantiformes (Perciformes)
  • Suborder: Anabantoidei
  • Family: Osphronemidae
  • Subfamily: Macropodusinae (Macropodinae)
  • Genus: Betta

ปลากัดป่า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

สำหรับปลากัดป่าในสกุล Betta ที่ค้นพบในประเทศไทย มีทั้งหมด 12 ชนิด โดยสามารถแบ่งปลากัดป่าได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. ปลากัดป่า "กลุ่มก่อหวอด" (Bubble-nest builder Betta) มีจำนวน 5 ชนิด
  2. ปลากัดป่า "กลุ่มอมไข่" หรือ "กลุ่มเลี้ยงลูกในปาก" (Mouth brooder Betta) มีจำนวน 7 ชนิด

1. ปลากัดป่า "กลุ่มก่อหวอด"

ปลากัดป่า กลุ่มก่อหวอด (Bubble-nest builder Betta) ที่ถูกค้นพบในประเทศไทย ถูกจัดรวมอยู่ในกลุ่ม 'splendens' complex ทั้งหมด มี 5 ชนิด โดยเรียงลำดับชื่อ ตามปีที่ตีพิมพ์เผยแพร่ การบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ดังนี้คือ ...

ปลากัดป่าภาคกลาง หางพัด หางโพธิ์ ราคาถูก

ดูเพิ่มเติม ↓
ปลากัดป่าภาคกลาง หางโพธิ์ ราคาถูก

1. ปลากัดป่าภาคกลาง

"ปลากัดป่าภาคกลาง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan, 1910 บางคนเรียกว่า ปลากัดป่าแก้มแดง, ปลากัดลูกทุ่งภาคกลาง, ปลากัดป่ากลาง, ปลากัดป่าเหนือ และมีชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) ว่า Siamese fighting fish หรือ Siamese Betta ปลากัดป่าภาคกลาง เป็นปลากัดป่าเฉพาะถิ่น (Endemic) ในโลกนี้พบแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

2. ปลากัดป่าภาคอีสาน

"ปลากัดป่าภาคอีสาน" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta smaragdina Ladiges, 1972 บางคนเรียกว่า ปลากัดป่าอีสาน, ปลากัดอีสาน, ปลากัดป่าหางลาย, ปลากัดป่ากีต้าร์, ปลากัดเขียว และมีชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) ว่า Mekong Fighting fish, Blue betta, Emerald green betta, Smaragd Fighting Fish

ปลากัดป่าอีสาน พันธุ์แท้ ราคาถูก

ดูเพิ่มเติม ↓
ปลากัดป่าอีสาน พันธุ์แท้ ราคาถูก »

3. ปลากัดป่าภาคใต้

"ปลากัดป่าภาคใต้" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta imbellis Ladiges, 1975 บางคนเรียกว่า ปลากัดป่าใต้, ปลากัดใต้, ปลากัดลูกทุ่งภาคใต้ และมีชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) ว่า Peaceful Betta, Crescent Betta, Malay fighting fish

4. ปลากัดป่ามหาชัย

"ปลากัดป่ามหาชัย" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta mahachaiensis Kowasupat et al., 2012 บางคนเรียกว่า ปลากัดมหาชัย มีชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) ว่า Mahachai Betta ปลากัดป่ามหาชัย เป็นปลากัดป่าเฉพาะถิ่น (Endemic) ในโลกนี้พบแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

5. ปลากัดป่าภาคตะวันออก

"ปลากัดป่าภาคตะวันออก" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta siamorientalis Kowasupat et al., 2012 บางคนเรียกว่า ปลากัดป่าตะวันออก, ปลากัดตะวันออก, ปลากัดลูกทุ่งภาคตะวันออก และมีชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) ว่า Kabinburi betta, Black imbellis

ปลากัดป่าตะวันออก พันธุ์แท้ ราคาถูก

ดูเพิ่มเติม ↓
ปลากัดป่าภาคตะวันออก ราคาถูก »

2. ปลากัดป่า "กลุ่มอมไข่" หรือ "กลุ่มเลี้ยงลูกในปาก"

ปลากัดป่า กลุ่มอมไข่ หรือ กลุ่มเลี้ยงลูกในปาก (Mouth brooder Betta) ที่ถูกค้นพบในประเทศไทย มีทั้งหมด 7 ชนิด โดยถูกจัดแบ่งเป็นกลุ่ม(complex) ได้ 3 กลุ่ม โดยเรียงลำดับชื่อ ตามปีที่ตีพิมพ์เผยแพร่ การบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ดังนี้คือ ...

กลุ่มปลากัดป่าอมไข่ 'pugnax' complex มี 5 ชนิด คือ

  1. ปลากัดป่าอมไข่ 'ภาคตะวันออก' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta prima Kottelat, 1994 บางคนเรียกว่า ปลากัดหัวโม่งจันทบูรณ์, ปลากัดป่าอมไข่จันทบุรี, ปลากัดป่าอมไข่จันทบูรณ์, ปลากัดป่าอมไข่ไพรม่า
  2. ปลากัดป่าอมไข่ 'ภาคใต้' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta pallida Schindler & Schmidt, 2004 บางคนเรียกว่า ปลากัดป่าอมไข่ภูเขา ค้นพบและบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานจากจังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีรายงานค้นพบที่เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี), อ. สุไหงโก- ลก (นราธิวาส) และอาจพบได้ที่ประเทศมาเลเซีย
  3. ปลากัดป่าอมไข่ 'นราธิวาส' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta apollon Schindler & Schmidt, 2006 บางคนเรียกว่า ปลากัดป่าอมไข่อะโพลอน เป็นปลากัดป่าเฉพาะถิ่น (Endemic) ในโลกนี้พบแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย (จ.นราธิวาส) เท่านั้น พบที่ลำธารทางตะวันตกของจังหวัดนราธิวาส
  4. ปลากัดป่าอมไข่ 'สงขลา' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta ferox Schindler & Schmidt, 2006 บางคนเรียกว่า ปลากัดหัวโม่งสงขลา, ปลากัดป่าอมไข่ฟีร็อกซ์ เป็นปลากัดป่าเฉพาะถิ่น (Endemic) ในโลกนี้พบแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย (จ.สงขลา) เท่านั้น
  5. ปลากัดป่าอมไข่ 'คือห์เน' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta kuehnei Schindler & Schmidt, 2008 เป็นปลากัดป่าอมไข่ ที่ค้นพบในประเทศมาเลเซีย แต่ก็มีข้อมูลระบุว่าพบในประเทศไทยด้วย ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส (Schindler and Schmidt 2008) ผู้ค้นพบโดย เยนส์ คือห์เน (Jens Kühne) เป็นนักมีนวิทยาและนักสำรวจธรรมชาติชาวเยอรมัน ซึ่งชื่อระบุชนิด 'kuehnei' ตั้งตามชื่อผู้ค้นพบ 

กลุ่มปลากัดป่าอมไข่ 'picta' complex มี 1 ชนิด คือ

  1. ปลากัดป่าอมไข่ 'กระบี่' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta simplex Kottelat, 1994 บางคนเรียกว่า ปลากัดหัวโม่งกระบี่, ปลากัดป่าอมไข่ซิมเพล็กซ์ เป็นปลากัดป่าเฉพาะถิ่น (Endemic) ในโลกนี้พบแหล่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย (จ.กระบี่) เท่านั้น
ปลากัดกระบี่ ปลากัดอมไข่กระบี่ ปลากัดหัวโม่งกระบี่
photo: ปลากัดอมไข่กระบี่ by Wild betta fish ปลากัดป่า

กลุ่มปลากัดป่าอมไข่ 'waseri' complex มี 1 ชนิด

  1. ปลากัดป่าอมไข่ 'ป่าพรุ' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta pi Tan, 1998 บางคนเรียกว่า ปลากัดช้าง, ปลากัดน้ำแดง, ปลากัดป่าอมไข่พาย พบที่ป่าพรุ ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

รายชื่อ ปลากัดป่า สกุล Betta ทั่วโลก มีกี่ชนิด

รายชื่อ ปลากัดป่า สกุล Betta ที่พบทั่วโลก มีจำนวนทั้งหมด 75 ชนิด โดยสามารถจัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ 13 กลุ่ม (complex) เรียงลำดับตามปีที่ตั้งชื่อและตีพิมพ์ ดังนี้ ...

กลุ่มปลากัดป่า 'akarensis' Complex มี 9 ชนิด

  1. Betta akarensis Regan, 1910
  2. Betta balunga Herre, 1940
  3. Betta chini Ng, 1993
  4. Betta pinguis Tan & Kottelat, 1998
  5. Betta aurigans Tan & Lim, 2004
  6. Betta ibanorum Tan & Ng, 2004
  7. Betta obscura Tan & Ng, 2005
  8. Betta antoni Tan & Ng, 2006
  9. Betta nuluhon Kamal, Tan & Ng, 2020

กลุ่มปลากัดป่า 'albimarginata' Complex มี 2 ชนิด

  1. Betta albimarginata Kottelat & Ng, 1994
  2. Betta channoides Kottelat & Ng, 1994

กลุ่มปลากัดป่า 'anabatoides' Complex มี 2 ชนิด

  1. Betta anabatoides Bleeker, 1851
  2. Betta midas Tan, 2009

กลุ่มปลากัดป่า 'bellica' Complex มี 2 ชนิด

  1. Betta bellica Sauvage, 1884
  2. Betta simorum Tan & Ng, 1996

กลุ่มปลากัดป่า 'coccina' Complex มี 10 ชนิด

  1. Betta coccina Vierke, 1979
  2. Betta tussyae Schaller, 1985
  3. Betta persephone Schaller, 1986
  4. Betta rutilans Witte & Kottelat, 1991
  5. Betta brownorum Witte & Schmidt, 1992
  6. Betta livida Ng & Kottelat, 1992
  7. Betta burdigala Kottelat & Ng, 1994
  8. Betta miniopinna Tan & Tan, 1994
  9. Betta uberis Tan & Ng, 2006
  10. Betta hendra Schindler & Linke, 2013

กลุ่มปลากัดป่า 'dimidiata' Complex มี 2 ชนิด

  1. Betta dimidiata Roberts, 1989
  2. Betta krataios Tan & Ng, 2006

กลุ่มปลากัดป่า 'edithae' Complex มี 1 ชนิด

  1. Betta edithae Vierke, 1984

กลุ่มปลากัดป่า 'foerschi' Complex มี 5 ชนิด

  1. Betta rubra Perugia, 1893
  2. Betta foerschi Vierke, 1979
  3. Betta strohi Schaller & Kottelat, 1989
  4. Betta mandor Tan & Ng, 2006
  5. Betta dennisyongi Tan, 2013

กลุ่มปลากัดป่า 'picta' Complex มี 4 ชนิด

  1. Betta picta Valenciennes, 1846
  2. Betta taeniata Regan, 1910
  3. Betta simplex Kottelat, 1994 (ปลากัดป่าอมไข่กระบี่)
  4. Betta falx Tan & Kottelat, 1998

กลุ่มปลากัดป่าอมไข่ 'pugnax' Complex มี 15 ชนิด

  1. Betta pugnax Cantor, 1849
  2. Betta fusca Regan, 1910
  3. Betta prima Kottelat, 1994 (ปลากัดป่าอมไข่ภาคตะวันออก)
  4. Betta schalleri Kottelat & Ng, 1994
  5. Betta enisae Kottelat, 1995
  6. Betta pulchra Tan & Tan, 1996
  7. Betta breviobesus Tan & Kottelat, 1998
  8. Betta pallida Schindler & Schmidt, 2004 (ปลากัดป่าอมไข่ภาคใต้)
  9. Betta cracens Tan & Ng, 2005
  10. Betta lehi Tan & Ng, 2005
  11. Betta raja Tan & Ng, 2005
  12. Betta stigmosa Tan & Ng, 2005
  13. Betta apollon Schindler & Schmidt, 2006 (ปลากัดป่าอมไข่นราธิวาส)
  14. Betta ferox Schindler & Schmidt, 2006 (ปลากัดป่าอมไข่สงขลา)
  15. Betta kuehnei Schindler & Schmidt, 2008 (ปลากัดป่าอมไข่คือห์เน)

กลุ่มปลากัดป่า 'splendens' Complex มี 6 ชนิด

  1. Betta splendens Regan, 1910 (ปลากัดป่าภาคกลาง)
  2. Betta smaragdina Ladiges, 1972 (ปลากัดป่าภาคอีสาน)
  3. Betta imbellis Ladiges, 1975 (ปลากัดป่าภาคใต้)
  4. Betta stiktos Tan & Ng, 2005
  5. Betta mahachaiensis Kowasupat et al., 2012 (ปลากัดป่ามหาชัย)
  6. Betta siamorientalis Kowasupat et al., 2012 (ปลากัดป่าภาคตะวันออก)

กลุ่มปลากัดป่า 'unimaculata' Complex มี 8 ชนิด

  1. Betta unimaculata Popta, 1905
  2. Betta macrostoma Regan, 1910
  3. Betta patoti Weber & de Beaufort, 1922
  4. Betta ocellata de Beaufort, 1933
  5. Betta gladiator Tan & Ng, 2005
  6. Betta pallifina Tan & Ng, 2005
  7. Betta compuncta Tan & Ng, 2006
  8. Betta ideii Tan & Ng, 2006

กลุ่มปลากัดป่า 'waseri' Complex มี 9 ชนิด

  1. Betta waseri Krummenacher, 1986
  2. Betta chloropharynx Kottelat & Ng, 1994
  3. Betta hipposideros Ng & Kottelat, 1994
  4. Betta spilotogena Ng & Kottelat, 1994
  5. Betta tomi Ng & Kottelat, 1994
  6. Betta pi Tan, 1998 (ปลากัดป่าอมไข่ป่าพรุ)
  7. Betta renata Tan, 1998
  8. Betta pardalotos Tan, 2009
  9. Betta omega Tan & Bin Ahmad, 2018

เสน่ห์ปลากัดป่า ความสวยงามแบบคลาสสิค

"ธรรมชาติจะคัดสรรสิ่งที่พอดีที่สุดเอาไว้เสมอ" อยู่ที่ว่าเราจะมองเห็นสิ่งนั้นหรือไม่ ก็เท่านั้นเอง "ปลากัดป่า" จึงเปรียบเสมือนว่า เป็นพันธุ์ปลากัดที่เกิดจากธรรมชาติเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ดั่งผลงานศิลปะที่มีชีวิตที่มีความลงตัวที่สุด

ปลากัดป่าจึงมีความสวยงามแบบคลาสสิค เรียบหรูดูดี มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง ทั้งรูปร่าง ลักษณะ ลวดลาย สีสันต่างๆ ของปลากัดแต่ละชนิด ล้วนมีเหตุผลในตัวเอง (อาจยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเป็นลักษณะแบบนั้น แต่รู้สึกได้ว่าเป็นความงดงามที่ลงตัวแบบพอดีๆ)

นักเลี้ยงปลากัดหลายคน เริ่มต้นจากการเลี้ยงปลากัดป่าตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยช้อนจากธรรมชาติมาเลี้ยงไว้ ที่ในสมัยนั้นเรียกกันว่า "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกช้อน" เมื่อนำปลากัดที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงก็จะมักจะเรียกกันว่า "ปลากัดลูกเพาะ"

จากนั้นก็เริ่มขยับมาเลี้ยงปลากัดพันธุ์เลี้ยงคือ "ปลากัดหม้อ" และ "ปลากัดสวยงาม" ซึ่งเป็น "ปลากัดลูกผสม" ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ หรือพัฒนาสายพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์ เพื่อให้เป็นปลากัดสวยงามสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีลักษณะ ลวดลาย สีสัน แปลกใหม่ ที่มีความหลากหลายไม่รู้จบ แตกต่างไปจากปลากัดป่าพันธุ์ดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง

เมื่อเลี้ยงปลากัดสวยงามไปสักพัก ก็จะมาถึงจุดอิ่มตัว (เมื่อไปถึงจุดสูงสุด ก็จะเริ่มหันกลับมามองหาต้นกำเนิดดั้งเดิม) จึงเริ่มหันกลับมามองหา "ปลากัดป่า" อีกครั้ง ตามคำกล่าวที่ว่า "สูงสุดสู่สามัญ" นั่นเอง

ปลากัดป่าแก้มแดงภูเรือ จ.เลย หายาก ราคาถูก

ดูเพิ่มเติม ↓
ปลากัดป่าแก้มแดงภูเรือ หายาก »

ปลากัดป่า มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ไปคุกคามทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากัดป่าในธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็ยังคงเป็นปัญหาเดิมๆ ที่ไม่สามารถอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของปลากัดป่าเอาไว้ได้ ยิ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติได้มากขึ้นและเร็วยิ่งขึ้น

จะเห็นได้จากในปัจจุบัน ปลากัดป่าพันธุ์ดั้งเดิมแท้ๆ จึงเริ่มหายากมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ (มีข้อมูลพบว่ามีหลายแหล่งที่เคยปลากัดป่าพันธุ์ดั้งเดิมแท้ๆ อาศัยอยู่ในอดีต แต่ปัจจุบันปลากัดป่าสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว อย่างน่าเสียดาย)

จึงส่งผลให้ "ปลากัดป่า" เริ่มมีนักเลี้ยงปลากัดให้ความสนใจและเริ่มได้รับความนิยมเลี้ยงปลากัดป่ากันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงปลากัดป่าเพื่อการอนุรักษ์ การประกวด หรือการขายปลากัดป่าก็ตาม "ปลากัดป่า" ก็ยังคงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเสมอ

การค้นหาเพิ่มเติม ↓
ปลากัดป่าไทย พันธุ์ไหนที่ขายดีที่สุด?